icon อันตราย!!! จากสารไกลโฟเซต   

อันตราย!!! จากสารไกลโฟเซต
ในปี คศ.2013 (  พ.ศ.2556  ) งานวิจัยจาก MIT  (Massachusetts Institute of Technology ) พบว่า Monsanto Roundup เป็นยาปราบวัชพืชที่พบบ่อยที่สุด พบสารไกลโฟเซตหรือยากำจัดวัชพืชที่ตกค้างใน น้ำตาล ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวสาลี  ไกลโฟเซตจะรบกวนการทำงานของเอนไซม์ ชื่อ ไซโตโครม P450 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ร่างกาย ใช้ในการขับสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อกระบวนขับสารพิษของร่างกายถูกยับยั้งก็จะทำให้สารเคมีปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อมสะสมในร่างกายนำไปสู่การเจ็บป่วยต่างๆ  เช่น  เบาหวาน  โรคหัวใจ  ออทิสติก  มะเร็ง  ภาวะมีบุตรยาก ฯ 
 ไกลโฟเซตมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ( xenoestrogens ) ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติกระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งของเต้านม
    ในปี 2016 องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ตรวจหาสารเคมีที่ตกค้างในอาหาร พบไกลโฟเซตหรือยาฆ่าหญ้าในอาหารที่ชาวอเมริกันบริโภคเป็นประจำอย่าง กราโนลา และแครกเกอร์ แต่รายละเอียดนี้ยังไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ
    ไกลโฟเซต เป็นส่วนผสมหลักของยาฆ่าแมลงของมอนซานโต ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ไกลโฟเซตมากกว่า 90 ล้านกิโลกรัมต่อปี  ยากำจัดวัชพืชจะถูกฉีดใส่พืชโดยตรง  รวมถึง  ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ข้าวสาลี  และข้าวโอ๊ต เกษตรกรจำนวนมาก เช่น ผู้ที่ปลูกผักขม  อัลมอนด์  ใช้ไกลโฟเซตในพื้นที่เพาะปลูกก่อนที่พืชจะโต


   FDA   มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในอาหารทุกปี  เพื่อเฝ้าระวังปริมาณสารตกค้างที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด 
ไกลโฟเซต  เป็นสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารมากกว่า 40 ปี ซึ่งข้อเรียกร้องให้ตรวจสอบไกลโฟเซตมีเพิ่มขึ้นหลังจากหน่วยวิจัยมะเร็งนานาชาติ  (  International Agency for Research on Cancer – IARC ) ขององค์การอนามัยโลกจัดให้  ไกลโฟเซตอยู่ในกลุ่ม  “  อาจก่อมะเร็งในมนุษย์  ”  เมื่อปี  2015
เมื่อมีการใช้ไกลโฟเซตก็จะเกิดการปนเปื้อนในอาหาร , ดิน , น้ำ , อากาศ และห่วงโซ่อาหารอย่างครบวงจร
นายแพทย์สมสินธุ์ ฉายวิจิตร


บทความโดย..
นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร   ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เข้าชม(13179)ครั้ง