แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (แบบยั่งยืน) พึงตนเองเป็นหลัก ปัจจุบันเราจะคุ้นเคย กับการรักษาตามอาการเป็นหลักจนลืมความสำคัญของเรื่องอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งมีผลกับสุขภาพของเราอย่างแท้จริง และตลอดชีวิต การรักษาตามอาการถือเป็นแนวทางทั่วไปของงานบริการที่พบได้เป็นส่วนมาก เช่น ไม่สบายแล้วไปโรงพยาบาล - จ่ายยาแก้ปวด ให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะ - จ่ายยาถ่าย ให้ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก - จ่ายยาแก้แพ้ ให้ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ - จ่ายยาคลายเครียด ให้ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า ทั้งหมดนี้คือ การรักษาตามอาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้ทุเลาลง การนำอาหาร (โภชนบำบัด) การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ในการดูแลสุขภาพทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู นั้น อันดับแรกต้องซักประวัติเกี่ยวกับรูปแบบการกิน การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ตรวจสภาพแวดล้อมภายในลำไส้ โลหะหนักก่ออันตรายในร่างกาย และวิเคราะห์เซลล์ต่าง ๆ การค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นภายในร่างกาย เจาะลึกถึงการทำงานของเซลล์และระดับโมเลกุล แล้วจึงร่างแผนภาพ เพื่อปรับแก้ (รักษาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ป่วย) ดังนั้นหากจะกล่าวว่า อาหารบำบัด และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน เพื่อปรับแก้จากต้นตอของการเจ็บป่วยก็คงจะไม่ผิดนัก เมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ด้วยอาการอย่างเช่น ภูมิแพ้ ผิวแห้งกร้าน ท้องเสีย ท้องผูก มือเท้าเย็น ปวดท้อง ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว หมดไฟ บวมน้ำ สมองไม่ปลอดโปร่ง ภูมิต้านทานลด อ้วนง่าย บ่าตึง ฯลฯ แพทย์ส่วนใหญ่ จะวินิจฉัยว่า ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเป็นพิเศษ หรือไม่ก็เป็นอาการไม่สบายทั่วไป แล้วจึงจ่ายยาตามอาการ แต่หากใช้วิธี อาหารบำบัดร่วมกับการปรับวิถีดำเนินชีวิต โอกาสที่อาการเหล่านี้ทุเลาหรือรักษาหาย จะมีสูง การซักประวัติ ตรวจร่ายกาย การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้สาเหตุที่แท้จริง แล้วให้การดูแลสุขภาพ แล้วแก้ปัญหาที่แท้จริง ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย ญาติ ต้องมีความเข้าใจ และตั้งใจปฏิบัติตามโดยเฉพาะเรื่องอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันให้ถูกต้องเป็นไปเพื่อการมีสุขภาพดี
บทความโดย..
นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก
เข้าชม(623)ครั้ง