icon การเตรียมใจรับความตายอย่างมีสติ (Be with conscious

สิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอก็คือ “ความตาย” ยิ่งอยู่ในวัยชราด้วยแล้วก็อาจเรียกว่าใกล้ถึงฝั่งเต็มที แต่คนชราหลายคนไม่ได้มีการเตรียมตัวเตรียมใจในเรื่องนี้เลย ทำให้เกิดความกลัว ความกังวลอย่างมากในชีวิต ไหนจะโรคร้ายรุมเร้า ไหนจะภาระหน้าที่ที่ยังทำไม่เสร็จ และพยายามอยู่ให้นานที่สุด ทั้งที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพจนใกล้ถึงขีดสุดแล้ว การรู้จักทำใจยอมรับความตายเมื่อร่างกายเข้าใกล้เวลาดับสูญจึงถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัวอยู่ไม่ต่างจากเรื่องอื่นๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่กลัวและไม่เคยคิดเตรียมการในเรื่องนี้ ซึ่งหากได้ปฏิบัติแล้วก็จะมีความสบเกิดขึ้นในใจ ทั้งตัวผู้ป่วยและลูกหลานทั้งหมด เมื่อผู้สูงอายุที่เข้าสู่ภาระป่วยหนักเริ่มที่จะใกล้ชิดกับความตายแล้วญาติหรือผู้ดูแลก็ควรเตรียมตัวเตรียมใจ และเตรียมการให้ดีเพื่อวาระสุดท้ายของผู้ป่วย ได้แก่

  • จัดสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญต่อจิตใจ ควรจัดให้ผู้ป่วยได้อยู่ในบรรยากาศที่ดี ซึ่งบรรยากาศที่ดีนั้นนอกจากจะอยู่ท่ามกลางคนที่รักแล้ว ควรจัดให้ใกล้ชิดธรรมะที่สุด เช่น ท่ามกลางเสียงสวดมนต์
  • จัดสภาพสังคม คือให้ผู้ป่วยได้อยู่ท่ามกลางผู้ที่มีสติ คนที่มีความรู้ในทางธรรม จิตใจก็จะสงบ ไม่มีความตระหนกตกใจกับความตายที่กำลังมารออยู่ตรงหน้า
  • จัดสรรเวลา คือให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเรียนรู้สัจธรรมของชีวิตว่าความตายเป็นของธรรมดา เพื่อที่จะทำให้เขาได้ทำใจยอมรับความตายได้เสียตั้งแต่ตน เมื่อยอมรับได้แล้วก็จะได้จากไปอย่างสงบไม่ทุกข์ร้อนหรือมีห่วงใดๆอีก
  • จัดหาโอกาส คือให้ผู้ป่วยได้เจริญสติ ได้ตามดู ตามรู้ลมหายใจ ตามดูเวทนาของอาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่กำลังเจ็บอยู่นั้น(ความเจ็บปวดไม่สบายต่างๆ) จนกระทั่งเกิดความรู้ความเข้าใจว่า ความป่วยไข้เป็นธรรมดาของสังขารซึ่งจะต้องเกิดแบบเลี่ยงไม่ได้ ยอมรับความเป็นจริงให้ได้ โดยหาโอกาสให้ผู้ป่วยปฏิบัติธรรมตามรู้ลมหายใจให้มากที่สุด

  • ถ้าเรามองความตายด้วยสายตาแห่งปัญญาหรือสายตาของปราชญ์ก้จะพบว่า ความตายนั้นกำลังสอนให้เราอยู่และทำวันนี้ให้ดีที่สุด คนที่เจ็บป่วยหนักและกำลังจะตายก็เป็นคำสอนให้ “หนึ่งคนตายแต่ร้อยคนตื่น” ตื่นจากความหลง ความเศร้าโศกทั้งหลาย..

    บทความโดย..
    นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร   ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เข้าชม(15257)ครั้ง