icon อาหารและอารมณ์เกี่ยวกันไหม?   

อาหารและอารมณ์

 

          เมื่อเรารู้สึกอารมณ์ไม่ดี  ทำไมเราเลือกทานไอศกรีมแทน แครอท ?

อาจเป็นเพราะว่าทานไอศกรีมแล้วรู้สึกจิตใจสบาย ผ่อนคลาย  โดยเฉพาะเมื่อคิดถึงตอนวัยเด็ก ใช่ล่ะไอศกรีมรสชาติอร่อย

          ในความเป็นจริงแล้วพอเราโตขึ้นมาเราอาจไม่เคยคิดถึงความจริงว่าอาหารมีผลกับอารมณ์  น้ำตาล  ไขมัน  และสารอาหาร   ทริปโตเฟน ( Tryptophan ) ที่มีอยู่ในนม ( milk ) จะไปมีผลกับสารสื่อประสาทในสมอง ( neurotransmitters ) ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย  จิตใจสบายชั่วคราว  แต่ในระยะยาว  น้ำตาลที่ทานเข้าไปจะทำให้เกิดผลตรงข้าม  คือเพิ่มความเสี่ยงของ ความกังวลหรือซึมเศร้า (amxiety or depressed) และถ้ารับประทานน้ำตาลจำนวนมากและนานแล้วหยุด  จะเกิดภาวะอาการการถอน (Sugar withdrawal) จะนำไปสู่อาการซึมเศร้า  สูญเสียความสนใจในการทำกิจวัตรประจำวัน  รู้สึกไม่มีคุณค่า ขาดพลังงานและขาดสมาธิ

        เราสามารถเพิ่มความคิดความอ่านเพิ่มสมาธิ ทำให้อารมณ์เบิกบานแจ่มใสด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดีกับสุขภาพ  สารอาหารต่างๆเช่นโปรตีน , คาร์โบไฮเดรต , ไขมันในอาหาร  รวมถึงวิตามินแร่ธาตุ  สารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช                  (  Phytonutrients ) จะมีผลต่อการสร้างสารต่อประสาท (neurotransmitters) ฮอร์โมนและเอนไซม์ทั้งในลำไส้และสมอง  จะมีผลต่ออารมณ์  ความจำ  และการนอนอหลับ  ยกตัวอย่าง  ร่างกายต้องการวิตามินบีสำหรับการทำงานของสมอง  วิตามินบี6สำหรับการสร้างโดปามีน ( dopamine )  ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข  และต้องการวิตามิน บี6  บี9  , และบี12 เพื่อสร้าง เซโลโทนิน ( serotonin ) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์  จะเห็นว่า  วิตามินบี (บีรวม)   มีผลในการสร้างสารสื่อประสาท  ซึ่งถ้าขาดจะทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า , ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง  บางคนจึงรับประทานวิตามินบีรวมเพื่อช่วยทำให้อารมณ์ดี ( really help &  lift their mood )

     สารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนชื่อไทโรซีน ( Tyrosine ) ที่มีอยู่ในปลา  ถั่วเปลือกแข็ง (nut) , ไข่ , ถั่วฝัก (bean) และธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grains ) ซึ่งร่างกายจะนำไปสร้างเป็นโดปามีน (ฮอร์โมนแห่งความสุข) เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมอารมณ์ , ความตื่นตัวและความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นเราจึงควรเพิ่มอาหารเหล่านี้เวลาเกิดความเครียดในช่วงแรกๆ  เราจะรู้สึกเบื่ออาหารเป็นผลจากที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอีพิเนฟฟริน (epinephrine)  แต่ถ้าความเครียดดำเนินไปนานขึ้น  ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา( cortisol) จะทำให้หิวอาหาร รับประทานอาหารได้มาก รวมไปถึงฮอร์โมนแห่งความหิวหลั่งเพิ่มขึ้น (ghrelin) จะทำให้หิวบ่อย  รับประทานอาหารได้มาก  โดยเฉพาะอาหารรสหวานและรสมันจะชอบเป็นพิเศษ  เพราะว่าร่างกายตอบสนองต่อภาวะความเครียด และระยะต่อไปอาหารรสหวานและรสมัน  จะเป็นผลเสียต่อร่างกายและสมอง

        ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ดีกับสุขภาพ ( ร่างกายและจิตใจ ) รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่  แต่ละหมู่ให้หลากหลาย  และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว รับประทานข้าวกล้องเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ ทานพืชผักให้มากและหลากหลาย ทานผลไม้หนึ่งในสามของพืชผัก รวมกันวันหนึ่งอย่างน้อย 4 – 6 ทัพพี , ทานปลาเป็นหลัก ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ ทานอาหารที่มีไขมันดีพอควร  ลดความหวานและลดความเค็มลง

 สรุป เมื่อทานอาหารที่ดีกับสุขภาพ จะมีผลกับจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ เพิ่มความหลากหลายและเพิ่มปริมาณ มีผลดีกับสมอง ความจำ อารมณ์ และผลดีกับทุกระบบของร่างกาย


บทความโดย..
นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร   ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เข้าชม(471)ครั้ง