icon เราจะทะนุถนอมไตของเราอย่างไร ?   

เราจะทะนุถนอมไตของเราอย่างไร ?

ไตของเราทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน ทำหน้าที่กรองเลือดที่ไม่เคยหยุด  ไตทำหน้าที่กรองเลือด 142 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง เพียงเพื่อให้ได้ปัสสาวะ 1.5 – 2 ลิตร ที่เราขับปัสสาวะออกมาในแต่ละวัน  หากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม   ของเสียจากกระบวนการเผาผลาญจะสะสมอยู่ในเลือด   จนในที่สุดก็จะนำไปสู่อาการ เช่น อ่อนเพลีย หายใจหอบ งุนงง และหัวใจเต้นผิดปกติ แต่คนส่วนใหญ่ที่การทำงานของไตเสื่อมลง กลับไม่รู้สึกถึงอาการพวกนี้เลย หากไตล้มเหลวโดยสิ้นเชิง จะต้องเปลี่ยนไตใหม่ เช่น ผ่าตัด ปลูกถ่ายไต หรือไม่ก็ต้องฟอกไตรอเพื่อจะเปลี่ยนไต เมื่อมีโอกาส แต่เนื่องจากผู้บริจาคไตมีไม่เพียงพอ และอายุเฉลี่ยของคนที่ต้องฟอกไตก็ต่ำกว่า 3 ปี ทางที่ดีจึงควรรักษาไตให้แข็งแรงตั้งแต่แรก

แม้ว่าไตอาจวายได้อย่างกะทันหัน เมื่อได้รับสารพิษบางอย่าง การติดเชื้อหรือเมื่อมีสิ่ง     ปิดกั้นให้ถ่ายปัสสาวะไม่ได้ แต่โรคไตส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการทำงานของไตที่ค่อยๆเสื่อมไป  ตามเวลา   สถิติในคนอเมริกัน ประมาณ 1 ใน 3 ของชาวอเมริกันที่มีอายุเกิน 64 ปีขึ้นไป   อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง     (Chronic Kidney Disease : CKD ) แม้ว่า 3 ใน 4 ของคนหลายล้านที่เป็นโรคนี้  ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็น คาดกันว่าผู้ใหญ่อเมริกันกว่าครึ่งทีมีอายุระหว่าง 30 – 64 ปี ในปัจจุบันจะเป็นโรคไตเรื้อรังในช่วงชีวิตของพวกเขา

อาหารที่ดีที่สุดสำหรับหัวใจของเรา ซึ่งก็คืออาหารจากพืชที่ไม่ผ่านการแปรรูปอาจช่วยป้องกันและรักษาโรคไตได้อย่างดีเช่นกัน

ทำร้ายไตด้วยอาหาร

ไตเป็นอวัยวะหลอดเลือด เต็มไปด้วยหลอดเลือดแดง อาหารอเมริกันโดยทั่วไปเป็นพิษต่อหลอดเลือดหัวใจและสมอง แล้วอาหารเหล่านี้ส่งผลต่อไต

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทดสอบว่า ไตที่แข็งแรงจะทำงานอย่างหนักเพื่อเก็บรักษาโปรตีนและสารอาหารที่สำคัญ และเลือกกรองแต่ของเสียที่เป็นพิษและไร้ประโยชน์จากกระแสเลือดออกไปในรูปของปัสสาวะ หากไตปล่อยให้โปรตีนเล็ดลอดไปสู่ปัสสาวะได้ ก็เป็นสัญญาณได้ว่าไตอาจเริ่มล้มเหลว

งานวิจัยพบว่า องค์ประกอบของอาหาร 3 ชนิด ที่เชื่อมโยงกับสัญญาณที่ชี้ว่าไตทำงานแย่ลงคือ

1.โปรตีนจากสัตว์

2. ไขมันสัตว์

3. คอเลสเตอรอล

ทั้งหมดนี้พบได้จากแหล่งเดียวเท่านั้นคือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผู้วิจัยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเสื่อมในการทำงานของไตกับการบริโภคโปรตีนหรือไขมันจากแหล่งอาหารที่เป็นพืช

ความสัมพันธ์ระหว่างคอเลสเตอรอลและโรคไตมีอิทธิพลมากขึ้นในวงการแพทย์ จนกระทั่งมีคำแนะนำในใช้ยาลดไขมันกลุ่มสเตติน ( statin ) สำหรับลดคอเลสเตอรอลเพื่อชะลอการลุกลามของโรค แต่จะไม่ดีกว่าหรือ ( ทั้งยังปลอดภัยและถูกกว่าด้วย ) ที่จะรักษาต้นเหตุที่แท้จริงของโรคด้วยการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

โปรตีนแบบใดที่ดีต่อไตมากกว่า

อาหารเนื้อสัตว์และของหวาน การบริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีน้ำตาลฟรักโทสสูงและน้ำตาลทรายมากเกินไป มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตและระดับกรดยูริกที่เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 อย่างนี้สามารถทำลายไตได้ ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์และอาหารขยะยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของไตที่เสื่อมลงและโปรตีนในเนื้อสัตว์ยิ่งเพิ่มปริมาณกรดในไต ทำให้การผลิตแอมโมเนียมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ของไตที่ไวต่อสารต่างๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ต้องแนะนำให้คนไข้โรคไตเรื้อรังจำกัดการบริโภคโปรตีนเพื่อป้องกันไม่ให้ไตทำงานแย่ลง

สิ่งที่สำคัญคือต้องเข้าใจว่าโปรตีนทุกชนิดไม่ได้ให้ผลอย่างเดียวกันต่อไตของเรา

            การบริโภคโปรตีนจากสัตว์ ในปริมาณสูงอาจมีผลอย่างยิ่งต่อการทำงานของไตมนุษย์ตามปกติ เพราะก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการกรองหนัก ( Hyperfiltration ) กล่าวคือ เมื่อภาระงานของไตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ภาระนี้ไม่ได้เป็นอันตราย หากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เราทุกคนมีระบบทำงานสำรองของไตติดตัวมาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว ซึ่งมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ด้วยไตข้างเดียว

แต่ตอนนี้ถ้าเราต้องย่อยโปรตีนจากสัตว์ในปริมาณมากทุกๆวัน ทำให้ไตใช้ระบบทำงานสำรองอย่างต่อเนื่อง เมื่อนานเข้าไตจึงทำงานแย่ลงโดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้นแม้คนที่แข็งแรงอยู่ก็ทำให้การทำงานของไตแย่ลงเรื่อยๆ ความรู้ทางการแพทย์ปัจจุบันทำให้ทราบว่าไตจัดการกับโปรตีนของพืชด้วยวิธีการต่างไปจากโปรตีนของสัตว์ (มีเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ) หลังจากกินเนื้อสัตว์เข้าไปไม่กี่ชั่วโมงไตของเราจะทำงานด้วยการกรองอย่างหนัก( Hyperfiltration ) สำหรับโปรตีนจากสัตว์หลายชนิด เนื้อวัว เนื้อไก่ และปลา ดูจะส่งผลเหมือนกัน แต่ปริมาณโปรตีนจากพืชในปริมารเท่ากันกลับไม่เกิดภาวะ Hyperfiltration จากการทดลอง ลองกินปลาทูน่า ภายใน 3 ชั่วโมง จะพบการกรองในไตพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 36 แต่เมื่อกินโปรตีนจากเต้าหู้ในปริมาณเท่ากัน ไตจะไม่ต้องทำงานหนักขึ้นเลย

จากงานวิจัยล่าสุดในปี2014 ( RCT : randomised control trial ) เพื่อสำรวจว่าไตกรองโปรตีนจากถั่วเหลืองและโปรตีนจากนมอย่างไร ผลลัพธ์สอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆ พบว่าโปรตีนจากพืชช่วยป้องกันการทำงานที่ทำให้ไตป่วยได้ เหตุผลที่พบ : โปรตีนจากสัตว์ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ ( Inflammation )

ลดปริมาณกรดจากอาหาร!!!

     โปรตีนจากสัตว์ก่อให้เกิดภาวะกรดมากกว่าพืช  โปรตีนจากสัตว์มักมีกรดแอมิโนที่มีซัลเฟอร์ในระดับสูงกว่า เช่น เมไทโอนิน ( Methionine ) ซึ่งผลิตกรดซัลฟริกเมื่อถูกเผาผลาญในร่างกาย ตรงกันข้าม ผักและผลไม้มักก่อให้เกิดด่างซึ่งช่วยเจือจางฤทธิ์ของกรดในไต มีงานวิจัยในปี2014 วิเคราะห์อาหารและการทำงานของไตในคน 12,000 คน พบว่า กรดจากอาหารที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อภาวะรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความเสียหายในไต

อาหารที่ก่อให้เกิดกรด ส่งผลกระทบต่อ “ ภาวะเป็นพิษในท่อไต ” หรืออันตรายที่เกิดกับท่อเล็กๆ อันเปราะบางที่ทำหน้าที่ผลิตปัสสาวะในไต เพื่อต้านทานกรดส่วนเกินจากอาหาร ไตจึงผลิตแอมโมเนีย ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นด่าง และสามารถสลายฤทธิ์ของกรดได้บางส่วน การต้านทานกรดช่วยในระยะสั้น แต่ในระยะยาว แอมโมเนียส่วนเกินในไตก็อาจเป็นผลมาจากการผลิตแอมโมเนียมากเกินไปมาตลอดชีวิต ไตอาจเริ่มแย่ลงในช่วงที่คุณอยู่ในวัยเลขสอง และเมื่อคุณเข้าสู่วัยแปดสิบ ประสิทธิภาพของไตก็อาจเหลือเพียงครึ่งเดียว

    ภาวะเลือดเป็นกรดเมแทบอลิก (metabolic acidosis) อย่างช้าๆ และเรื้อรังซึ่งเชื่อกันว่ามีสาเหตุมาจากอาหารที่อุดมด้วยเนื้อสัตว์ อาจช่วยอธิบายว่า ทำไมคนที่กินอาหารจากพืชจึงดูเหมือนจะมีการทำงานของไตที่ดีกว่า และทำไมอาหารจากพืชชนิดต่างๆจึงรักษาอาการไตวายเรื้อรังได้สำเร็จอย่างยิ่ง อาหารมังสวิรัติทำให้ไตเป็นด่าง ขณะที่อาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัติประกอบด้วยกรดสูง หากยังลดการบริโภคเนื้อสัตว์ยังไม่ได้ ก็ควรส่งเสริมให้กินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น เพื่อทำให้ปริมาณกรดสมดุล

การทานผงฟู ( โซเดียมไบคาร์บอเนต ) ชนิดเม็ด เพื่อแก้ปัญหาภาวะกรดมากเกินไป เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ระยะยาวตัวโซเดียมอาจมีปัญหาต่อไตได้

นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก!!! วิธีแก้ปัญหาแบบปิดปากแผลเป็นเรื่องที่แสนจะปกติในทางการแพทย์ทุกวันนี้ เช่น คอเลสเตอรอลสูงเกินไป เพราะกินอาหารทีมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลมากผิดปกติอย่างนั้นหรือ กินยาลดคอเลสเตอรอล(statin) เพื่อระงับการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างคอเลสเตอรอลสิ!!!   กินอาหารที่สร้างกรดมากผิดปกติอย่างนั้นหรือ!!! กลืนยาเม็ด ผงฟูไปสิ แล้วมันจะสมดุลเอง ??? แล้วยาลดไขมัน , ผงฟู ก็เป็นพิษต่อร่างกายในระยะยาว

นักวิจัยพบว่า (กลุ่มเดียวกัน) ทดลองให้คนกินผัก ผลไม้ แทนผงฟูด้วย และพบว่าทั้งสองวิธีให้การป้องกันได้เหมือนกัน  โดยมีข้อดีเพิ่มเติมในการช่วยลดความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างซึ่งกินผักผลไม้ (หัวใจในการหยุดยั้งการลุกลามของโรคไตเรื้อรังอยู่ในตลาดสด ไม่ใช่ร้านขายยา)

นิ่วในไต

การกินอาหารจากพืชเพื่อทำให้ปัสสาวะเป็นด่างยังอาจช่วยป้องกันและรักษาก้อนนิ่วในไต ซึ่งเป็นตะกอนแร่ธาตุที่แข็งตัวและก่อตัวขึ้นในไต เมื่อความเข้มข้นของสารบางชนิดที่ทำให้เกิดก้อนแข็งในปัสสาวะสูงมากจนถึงระดับที่เริ่มตกผลึกในที่สุดเหล่านี้ก็จะขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดเท่าเม็ดกรวดซึ่งปิดกั้นการไหลของปัสสาวะได้ นิ่วอาจผ่านออกมาได้เองตามธรรมชาติและบ่อยครั้งก็เจ็บปวด ถ้าขนาดใหญ่อาจต้องใช้การผ่าตัดหรือการสลายนิ่ว อะไร!!! ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตเพิ่มขึ้น จากการวิจัยเชิงบำบัด สรุปว่า ชาวอเมริกันสามารถลดความเสี่ยงของนิ่วในไตได้มาก หากเพียงแค่ลดบริโภคเนื้อสัตว์ลง    ปี2014 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้กินเนื้อสัตว์เลยมีความเสี่ยงที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะนิ่วในไตต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และสำหรับคนที่กินเนื้อสัตว์ ยิ่งกินมาก ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กันก็ยิ่งสูงมากขึ้น  สรุป  คนที่มีนิ่วควรได้รับคำแนะนำให้จำกัดการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด

งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ใน New England Journal & Medicine พบว่าการกินเนื้อสัตว์และเกลือให้น้อยลงมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้อาหารแคลเซียมต่ำ ซึ่งหมอนิยมแนะนำกันถึง 2 เท่า และลดความเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในไตลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่งงานวิจัยพบว่าคนที่กินผักเพิ่มขึ้นไม่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นที่จะเกิดนิ่วหรือพูดอีกอย่างก็คือ การกินผักผลไม้มากขึ้นกลับมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงนิ่วในไตที่ลดลง ( ความเชื่อเดิมคือการลดออซาเลตซึ่งมีมากในผักบางชนิด จะช่วยลดการเกิดนิ่ว )

     การลดโปรตีนจากสัตว์ช่วยลดการสะสมของกรดยูริก ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลึกที่ทำให้เกิดนิ่วจากแคลเซียมหรือสร้างนิ่วจากตัวกรดยูริกเอง

การจำกัดเนื้อสัตว์ออกจากอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงที่กรดยูริกจะตกผลึกได้มากกว่าร้อยละ 90 ภายในเวลาเพียง 5 วัน

ที่สำคัญคือ เมื่อปัสสาวะมีภาวะเป็นด่างมากกว่า มีความเป็นไปได้น้อยลงที่จะเกิดนิ่ว สรุป การกินเนื้อสัตว์น้อยลงและกินผักผลไม้ให้มากขึ้นจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีมาก การหันมากินอาหารจากพืช ปัสสาวะจะมีความเป็นด่างมากขึ้นจนเข้าใกล้ค่าPH ที่เป็นกลางภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์

อาหารชนิดเดียวที่ก่อให้เกิดกรดมากที่สุดคือปลา ได้แก่ ปลาทูน่า ตามมาด้วย เนื้อหมู สัตว์ปีก ชีส และเนื้อวัว ไข่ก่อให้เกิดกรดมากกว่าเนื้อวัว แต่ผู้คนมักกินไข่ในปริมารที่น้อยกว่าในแต่ละครั้ง ธัญพืชบางชนิดอาจก่อให้เกิดกรดเล็กน้อย อย่างเช่น ขนมปัง และข้าว แต่น่าสนใจที่พาสต้าไม่นับถั่ว ลดปริมาณกรดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มากเท่าผลไม้ โดยผักเป็นอาหารที่สร้างด่างมากที่สุด เห็นได้ชัดเจนว่า นิ่วจากกรดยูริกสามารถสลายไปเองได้จนหมดด้วยการกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น จำกัดการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์และเกลือ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 10 แก้ว

อาหารช่วยป้องกันมะเร็งไตได้หรือไม่ ?

ในแต่ละปีชาวอเมริกัน 64,000 คน ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งไต และประมาณ 40,000 คน เสียชีวิต ร้อยละ 4 ของการเป็นมะเร็งไตเกิดจากพันธุกรรมที่เหลือร้อยละ 96 ที่เหลือล่ะ

               ปัจจัยเสี่ยงที่ยอมรับกันของมะเร็งไต คือ การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่มีสารก่อมะเร็งในควันบุหรี่ เรียกว่า ไนโตรซามีน

( nitrosamine ) เป็นอันตรายมาก แม้แต่ควันบุหรี่มือสามก็ยังไม่น่าไว้วางใจ ภัยบุหรี่ไม่ได้จบเมื่อบุหรี่ดับ เมื่อสารตกค้างจากบุหรี่ยังเกาะติดอยู่บนผนังและพื้นผิวอื่นๆได้ ไนโตรซามีนจากควันบุหรี่ประมาณร้อยละ 80 สามารถตกค้างอยู่ในห้อง แม้จะมีการระบายอากาศเป็นปกติ ดังนั้นจึงควรพยายามเลือกห้องในโรงแรมที่ปลอดบุหรี่เสมอ ไนโตรซามีนเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คุณไม่มีทางสูบบุหรี่ในอาคารได้โดยไม่ทำร้ายผู้อื่น ต่อให้สูบโดยไม่มีใครอยู่เลยก็ตาม

              สารก่อมะเร็งที่มีความรุนแรงระดับนี้ หากพบในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคชนิดอื่นที่ออกแบบมาให้มนุษย์บริโภค คงถูกสั่งห้ามทันที!!!  ยกเว้นอย่างเดียวคือ  เนื้อสัตว์

ไส้กรอก 1 ชิ้น มีไนโตรซามีน( nitrosamine )   และไนโตรซาไมด์ ( nitrosamide ) ซึ่งก่อมะเร็งที่คล้ายบุหรี่ มากเท่ากับบุหรี่ 4 มวน และสารก่อมะเร็งชนิดนี้ยังพบได้ในเนื้อสัตว์สด อย่างเช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ และเนื้อหมู นี่อาจช่วยอธิบายการเพิ่มขึ้นของมะเร็งในช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา

จากการวิจัยพบว่า การลดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปให้เหลือน้อยกว่าวันละ 20 กรัม หรือขนาดเล็กกว่ากล่องไม้ขีด จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตทั้งหมดได้ร้อยละ 3

นักวิจัยชี้ว่า ตัวอย่าง การเสียชีวิตจากโรคหัวใจในผู้หญิงอเมริกันร้อยละ 20 สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากคนที่บริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปมากที่สุดจะลดการบริโภคดังกล่าวลงให้เหลือเพียงเท่ากับเบคอนวันละไม่ถึงครึ่งแผ่น

ดังนั้นสถาบันวิจัยมะเร็งอเมริกันแนะนำเพียงให้หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปอย่างเช่น แฮม เบคอน ซาลามี ฮ็อตด็อก และไส้กรอกอื่นๆ

ผักทีมีไนเตรตซึ่งสามารถหมักในกลายเป็นไนไตรต์ได้

ไนไตรต์ถูกเติมลงในเนื้อหมักเพื่อ “ แต่งสี ” และป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียโบทูลิซึม ( โรคจากปรสิตที่พบยากแต่รุนแรง )

ไนไตรต์เองแล้วไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่เมื่อไนไตรต์จะเป็นอันตรายเมื่อถูกเปลี่ยนให้เป็นไนโตรซามีนและไนโตรซาไมด์ การจะเกิดกระบวนการเช่นนี้ได้ จะต้องมีอามีน ( amine) หรือ อาไมด์ ( amide ) ซึ่งพบได้มากมายในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในเนื้อสัตว์หรือในกระเพาะอาหารหลังจากที่เรากินเนื้อสัตว์เข้าไป  ในกรณีอาหารจากพืช วิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆที่พบในพืชตามธรรมชาติ ช่วยสกัดกั้นการก่อตัวของสารก่อมะเร็งเหล่านี้ในร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการบริโภคทั้งไนเตรตและไนไตรต์จากเนื้อสัตว์แปรรูปจึงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งไต แต่กลับไม่พบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการบริโภคไนเตรตและไนไตรต์จากแหล่งที่เป็นพืช  ผักบางชนิดที่มีไนเตรตสูงมาก อย่างเช่น ผักร็อกเกต ผักเคล และผักคอลลาร์ดกลับสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคมะเร็งไตอย่างมีนัยสำคัญ

เพื่อรักษาไตให้แข็งแรงและดูแลเลือดให้สะอาด เราต้องพิจารณาเลือกอาหารที่กินอย่างรอบคอบ อาหารเนื้อสัตว์และของหวานสามารถทำลายไตของเราอย่างช้าๆทีละมื้อในแต่ละครั้ง และบีบให้ไตเข้าสู่ภาวะการกรองอย่างท่วมท้น (Hyperfiltration) โชคดีที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พิสูจน์ว่า เราสามารถลดภาระงานของไตและปริมาณกรดได้โดยเดินหน้าสู่การกินอาหารจากพืชให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่หวานไม่มาก


บทความโดย..
นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร   ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เข้าชม(553)ครั้ง