icon ทำอย่างไร..ไม่ให้ตายเพราะโรคเบาหวาน   

ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา โรคเบาหวานทำให้ไตวาย 50,000 ราย 75,000 ราย ต้องตัดขาทิ้ง 650,000 ราย สูญเสียการมองเห็น และ 75,000 ราย เสียชีวิตในแต่ละปี


ระบบย่อยอาหารย่อยแป้งและนํ้าตาล (คาร์โบไฮเดรต) ที่เรากินเข้าไปให้กลายเป็นนํ้าตาลเชิงเดี่ยว เรียกว่า กลูโคส ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ขับเคลื่อนทุกเซลล์ในร่างกาย การที่กลูโคสจะผ่านจากกระแสเลือดเข้าไปสู่เซลล์ได้ จำเป็นต้องใช้อินซูลิน ให้นึกภาพว่าอินซูลินเป็นเหมือนกุญแจไขประตูเข้าสู่เซลล์ของเรา เพื่อปล่อยให้กลูโคสเข้าไปได้ ทุกครั้งที่เรากินอาหาร อินซูลินจะถูกหลั่งออกมาจากตับอ่อนเพื่อลำเลียงกลูโคสเข้าสู่เซลล์ หากไม่มีอินซูลินเซลล์เขาเราก็ไม่สามารถรับกลูโคสเข้าไปได้ และผลที่ตามมาคือ กลูโคสจะสะสมในเลือด เมื่อเวลาผ่านไป กลูโคสส่วนเกินจะทำลายหลอดเลือดทั่วร่างกาย นั่นคือสาเหตุที่โรคเบาหวานทำให้ตาบอด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ระดับนํ้าตาลในเลือดที่สูงยังทำลายเซลล์ประสาท ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โรคเส้นประสาท (Neuropathy) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการชา เสียวแปลบ หรือเจ็บได้ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นที่หลอดเลือดและเส้นประสาท ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงประสบปัญหาการไหลเวียนของเลือดที่ไม่ดี และไร้ความรู้สึกที่ขาและเท้า ซึ่งทำให้การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหายช้าจนอาจต้องลงเอยด้วยการตัดขาทิ้งในที่สุด
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานชนิดที่เริ่มต้นในวัยเด็ก และเริ่มประมาณร้อยละ 5 ของคนไข้ทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน เบาหวานชนิดที่ 1 ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าใจผิดและทำลายเบต้าเซลล์ (beta cell) ในตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน เมื่อไม่มีอินซูลิน นํ้าตาลในเลือดก็สูงขึ้นสู่ระดับที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ซึ่งเป็นการบำบัดแบบการใช้ฮอร์โมนทดแมน เพื่อชดเชยการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลิน ของโรคเบาหวานชนิดนี้ แม้ว่าความเสี่ยงทางพันธุกรรมประกอบกับการเจอตัวกระตุ้นในสภาพแวดล้อม เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือนมวัว อาจมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้


โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 90 ของคนไข้เบาหวานทั้งหมด ในกรณีเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ แต่ทำงานได้ไม่ดีนัก การสะสมของไขมันในเซลล์กล้ามเนื้อและตับขัดขวางการทำงานของอินซูลิน เมื่อกลูโคสไม่สามารถเข้าสู่กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผู้บริโภคพลังงานหลักได้ ระดับนํ้าตาลในเลือดก็จะสูงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นอันตราย ไขมันที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อมาจากอาหารที่กินหรือไขมันที่มีอยู่แล้ว
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบจะป้องกันได้ทุกราย บ่อยครั้งที่รักษาได้ด้วย และสามารถพลิกผันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงอาหาร และการใช้ชีวิต
อันที่จริงแค่เปลี่ยนไปกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็สามารถเริ่มต้น ปรับปรุงสุขภาพของตัวเองได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

อะไรทำให้เกิดการดื้ออินซูลิน
งานวิจัยครั้งแรกในปี ค.ศ. 1927 โดยนักวิจัยแบ่งนักศึกษาแพทย์ที่มีสุขภาพแข็งแรงออกเป็นหลายกลุ่ม เพื่อทดสอบผลของอาหารชนิดต่างๆ บางกลุ่มได้รับอาหารที่อุดมด้วยไขมัน ประกอบด้วยนํ้ามันมะกอก เนยสด ไข่แดง และครีม บางกลุ่มรับอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตจากนํ้าตาล ขนมหวาน ขนมอบ ขนมปังขาว มันฝรั่งอบ นํ้าเชื่อม กล้วย ข้าว และข้าวโอ๊ต ภายในไม่กี่วันระดับนํ้าตาลในเลือดของกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวตามการต้านทานนํ้าตาลสูง (การดื้ออินซูลิน) คือสูงมากกว่าคนที่อยู่ในกลุ่มอาหารแป้งและนํ้าตาลเสียอีก
ไขมันในกระแสเลือด ไม่ว่าจะมาจากไขมันสะสมในร่างกาย หรือจากอาหาร ก็สามารถก่อตัวขึ้นภายในเซลล์กล้ามเนื้อได้ และมันจะสร้างสารย่อยสลายซึ่งเป็นพิษและอนุมูลอิสระที่ขัดขวางกระบวนการส่งสัญญาณของอินซูลิน ไม่ว่าร่างกายจะผลิตอินซูลินได้มากเท่าใด เซลล์กล้ามเนื้อที่มีไขมันเข้ามาแทรกแซงก็ไม่อาจใช้อินซูลินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ปัจจุบันนักวิจัยสามารถติดตามไขมันที่เดินทางจากเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อและดูระดับการดื้ออินซูลินที่เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ไขมันโจมตีเซลล์และภายใน160นาที การดูดซึมกลูโคสเข้าสู่เซลล์จะตกลง
แต่เราสามารถลดการดื้อต่ออินซูลินได้โดยงานวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อปริมาณไขมันในอาหารลดลง อินซูลินก็สามารถทำงานได้ดีขึ้น


ภาวะก่อนเป็นเบาหวานในเด็ก (Prediabetes)
ภาวะก่อนเป็นเบาหวานระบุได้จากระดับนํ้าตาลในเลือดที่สูงขึ้น แต่ยังไม่สูงถึงขั้นแตะเกณฑ์ของโรคเบาหวาน โดยทั่วไปมักพบในคนที่มีนํ้าหนักตัวมากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วน ในภาวะก่อนเป็นเบาหวาน (prediabetes) นํ้าตาลได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไต ตา หลอดเลือดและเส้นประสาท แม้แต่ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเสียด้วยซํ้า หลักฐานจากงานวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ว่า ดังนั้นหากจะป้องกันความเสียหายจากโรคเบาหวาน เราจำเป็นต้องป้องกันภาวะก่อนเป็นเบาหวานให้ได้ ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี
สามสิบปีก่อน โรคเบาหวานแทบทั้งหมดในเด็กมักถูกทึกทักว่าเป็นชนิดที่ 1 ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เราเริ่มเห็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มขึ้นในเด็ก โรคที่ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่า ” ตอนนี้รู้จักในชื่อ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะเด็กตั้งแต่ 8 ขวบก็เริ่มเป็นโรคนี้ได้แล้ว แนวโน้มเช่นนี้สามารถทำให้เกิด ผลลัพธ์ที่ร้ายแรง

งานวิจัยที่ติดตามเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเวลา 15 ปี พบความชุกที่น่าตกใจของการตาบอด การตัดขาทิ้ง ไตวาย และเสียชีวิต เมื่อเด็กกลุ่มนี้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
- โรคอ้วนในวัยเด็กเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถใช้ในการทำนายโรคและการเสียชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น พบว่าการมีนํ้าหนักมากเกินไปในวัยรุ่น สามารถทำนายความเสี่ยงของโรคในอีก 50 ปี ให้หลัง ในที่สุดบุคคลกลุ่มนี้อาจมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และมีโอกาสสูงขึ้นที่จะเป็นโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Rectum) โรคเกาต์ และโรคข้ออักเสบ นักวิจัยพบว่าการมีนํ้าหนักเกินในวัยรุ่น อาจเป็นตัวทำนายความเสี่ยงของโรคได้แม่นยำยิ่งกว่าการมีนํ้าหนักเกินในวัยผู้ใหญ่เสียอีก
เพื่อป้องกันโรคเบาหวานในวัยเด็ก เราจำเป็นต้องป้องกันโรคอ้วนในเด็ก ในปี ค.ศ.2010 ภาควิชาโภชนาการ มหาวิทยาลัยโลมาลินดา ได้ตีพิมพ์เอกสารที่แนะนำว่า
งานวิจัยขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ตีพิมพ์ในอเมริกาเหนือ คนที่กินเนื้อสัตว์ มีอัตราของโรคอ้วนสูงสุด มีค่า BMI เฉลี่ยที่ 28.8 กลุ่มที่กินมังสวิรัติแบบไม่มีเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ใดๆทั้งสิ้น (วีแกน) เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่พบว่ามีนํ้าหนักในอุดมคติ BMI เฉลี่ยที่ 23.6
แล้วทำไมพ่อแม่จึงไม่เลี้ยงลูกด้วยอาหารจากพืชให้มากขึ้นละ มีความคิดผิดๆที่พบได้ทั่วไปในอเมริกาว่า การเติบโตของเด็กจะหยุดชะงัก ในทางตรงข้าม การกินเนื้อสัตว์มีความสัมพันธ์กับลำตัวที่ขยายออกด้านข้างเสียมากกว่า นักวิจัยกลุ่มเดียวกัน ยังพบความสัมพันธ์อย่างชัดเจนระหว่างการบริโภคอาหารจากสัตว์และความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อภาวะนํ้าหนักเกิน เราทุกๆคนมาทำให้เด็กๆ (ลูกๆหลานๆของเรา) มีอายุยืนยาวขึ้นอีก 20 ปีดีไหม ?
ไขมันที่กินกับไขมันในร่างกาย
การที่มีไขมันส่วนเกินในร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และร้อยละ 90 ของคนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้มีนํ้าหนักตัวเกิน
น่าสนใจที่จำนวนเซลล์ไขมันในร่างกายไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในวัยผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะมีนํ้าหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากแค่ไหน เซลล์นี้ก็แค่พองขึ้นเมื่อร่างกายมีนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่ได้สร้างเซลล์ไขมันขึ้นมาใหม่ แต่ปริมาณไขมันเพิ่มขึ้นในเซลล์ไขมันที่มีอยู่แล้ว

ไม่ว่าไขมันในกระแสเลือดจะมาจากแหล่งใด ระดับไขมันก็เพิ่มขึ้น ความสามารถของร่างกายที่จะกำจัดนํ้าตาลจากเลือดลดลง เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน อันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในทางกลับกัน คนที่กินอาหารจากพืชมีอัตราเพียงเล็กน้อยที่จะเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมักพบในคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นประจำ


ไขมันอิ่มตัวและโรคเบาหวาน
ใช่ว่าไขมันทุกชนิดจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อของเราในแบบเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ปาลมิเทต (palmitate) ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดที่มักพบในสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ ทำให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน ไขมันอิ่มตัวสามารถสร้างสารพัดปัญหาในเซลล์กล้ามเนื้อ และอาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษที่แตกตัวแล้ว (เช่น เซราไมด์ และไดอะซิล กลีเซอรอล) รวมถึงอนุมูลอิสระและก่อให้เกิดการอักเสบหรือแม้แต่ความผิดปกติของไมโตคอนเดรีย กล่าวคือ ไปขัดขวางโรงงานผลิตพลังงานเล็กๆ (ไมโตคอนเดรีย) เหล่านี้ภายในเซลล์ ปรากฏการณ์นี้รู้จักกันในชื่อ ภาวะไขมันเป็นพิษ (lipotoxicity) หากนำตัวอย่างชิ้นเนื้อ ไปตรวจวิเคราะห์ ( muscle biopsy ) จะพบว่า
จากการวิจัยพบว่า คนที่กินวีแกนมีไขมันเกาะที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านในน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่กินทั้งพืชและสัตว์ที่มีรูปร่างผอมพอๆกัน
ป้องกันเบาหวานด้วยการกินให้มากขึ้น
งานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาในประชากรแสดงให้เห็นว่าคนที่กินถั่ว เช่น ถั่วเมล็ด ถั่วสปลิตพี ถั่วลูกไก่ และถั่วเลนทิล ในปริมาณมากพอ มีแนวโน้มที่จะมีนํ้าหนักตัวน้อยกว่า ทั้งยังมีเอวบางกว่า เป็นโรคอ้วนน้อยกว่า และมีความดันโลหิตตํ่ากว่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้กินถั่วมากนัก
มีหลักฐานบ่งชี้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ลดนํ้าหนักด้วยการควบคุมปริมาณอาหาร สุดท้ายแล้วกลับมามีนํ้าหนักเท่าเดิม

กาดังนั้นจะไม่เป็นการดีกว่าหรอกหรือ ที่จะหาหนทางกินอาหารให้มากขึ้นเพื่อให้ลดนํ้าหนักได้เหมือนกันแทน พูดง่ายๆ คนอ้วนสามารถเสริมคุณภาพอาหารด้วยการกินอาหารที่มีถั่วมากๆ
ความเป็นพิษของไขมันอิ่มตัว เพื่อทำให้เบต้าเซลล์สัมผัสกับไขมันอิ่มตัวหรือไขมันแอลดีแอล (ไขมันไม่ดี) ในจานเพาะ เบต้าเซลล์จะเริ่มตาย ผลลัพธ์เดียวกันนี้กลับไม่พบเมื่อใช้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่มีมากในอาหารจากพืชที่มีไขมันสูง เช่น ถั่วเปลือกแข็ง
ลดนํ้าหนักดัวยอาหารจากพืช
เพราะอาหารจากพืชส่วนใหญ่อัดแน่นด้วยสารอาหารและมีแคลอรี่ตํ่าอยู่แล้วตามธรรมชาติ ผักและผลไม้โดยเฉลี่ยมีนํ้าประมาณร้อยละ 80-90 เส้นใยอาหารสามารถเพิ่มปริมาณอาหารโดยไม่เพิ่มแคลอรี่
อาหารจากพืชชนะอาหารลดนํ้าหนัก ที่สมาคมเบาหวานอเมริกัน (The American Diabetes Association) แนะนำไว้แบบขาดลอย การทบทวนงานวิจัยที่คล้ายกันพบว่า คนที่บริโภคอาหารจากพืช นอกจากนํ้าหนักตัวจะลดลงแล้ว มีระดับนํ้าตาลในเลือดดีขึ้น และความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง เมื่อเทียบกับคนที่กินอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากกว่า
การลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้ได้มากที่สุด
นักวิจัยพบว่า ผู้ที่กินมังสวิรัติมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่กินเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว ผู้หญิงที่กินมังสวิรัติมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานน้อยลงถึงร้อยละ 75 คนที่ไม่กินเนื้อสัตย์เลยดูเหมือนจะมีความเสี่ยงทั้งต่อภาวะก่อนเป็นเบาหวาน และโรคเบาหวานตํ่ากว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับคนที่กินอาหารจากผักและกินเนื้อสัตว์และปลาเป็นครั้งคราว
มลพิษที่ส่งเสริมโรคเบาหวาน
นักวิทยาศาสตร์เริ่มระบุหามลพิษเคมี “ที่ทำให้เป็นโรค” ซึ่งถูกปล่อยเข้าสู่สิ่งแวดล้อมและอาจขัดขวางกระบวนการเผาผลาญ (metabolism) และทำให้เป็นโรคอ้วน อาหารที่ปนเปื้อนเป็นที่มาสำคัญที่ทำให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้ ซึ่งร้อยละ 95 มาจากการบริโภคไขมันสัตว์

ไขมันที่สะสมในร่างกาย อาจเก็บมลพิษเหล่านี้ไว้ คนที่นํ้าหนักเกินจึงอาจกำลังพกพาขยะพิษส่วนตัวไว้บริเวณสะโพก หากไม่ลดนํ้าหนักให้มากพอ คนที่ร่างกายเต็มไปด้วยมลพิษจากปลาแซลมอนอาจต้องใช้เวลา 55-75 ปี เพื่อกำจัดสารเคมีเหล่านี้ออกไปจากร่างกาย
คำตอบคือ : นักวิจัยพิจารณาชีวิตคนใน 1 วัน ของคน 30,000 คนทั่วอเมริกา โดยเปรียบเทียบการได้รับสารอาหารของคนที่กินเนื้อสัตว์กับคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ เมื่อเปรียบเทียบกันโดยปริมาณแคลอรี่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินกลุ่มบีมากกว่า ทั้งไทอามีน ไรโบฟลาวิน และโฟเลต ตลอดจนแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และโพแทสเซียม ยิ่งกว่านั้น สารอาหารเหล่านี้หลายชนิด ซึ่งมีมากในอาหารจากพืช ยังเป็นสารอาหารที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ มักได้รับไม่เพียงพอ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเส้นใยอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมเลย ขณะเดียวกันคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ยังรับสารที่เป็นอันตรายเข้าสู่ร่างกายน้อยกว่าด้วย เช่น โซเดียม , ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล
ในเรื่องการควบคุมนํ้าหนัก คนที่กินอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ได้รับพลังงานน้อยลงโดยเฉลี่ยวันละ 364 แคลอรี ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าพอๆกับพลังงานที่คนส่วนใหญ่ที่ใช้โปรแกรมลดนํ้าหนักแบบเดิมๆพยายามลดลงให้ได้ นั่น
คนที่กินอาหารจากพืชมีอัตราการเผาผลาญพลังงานขณะพัก (resting metabolic rate) สูงขึ้นร้อยละ 11 นั้นหมายความว่า คนที่กินมังสวิรัติเผาผลาญพลังงานมากกว่าแม้แต่ตอนหลับ นี้อาจเป็นเพราะคนที่กินมังสวิรัติมีการแสดงลักษณะของยีนมากขึ้นจากเอนไซม์ที่เผาผลาญไขมัน (carnitine palmitoyltransferase) ซึ่งช่วยพาไขมันเข้าสู่เตาผลิตพลังงานไมโตคอนเดรียในเซลล์ มีงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุด ชื่อ EPIC – PANACEA พบว่า การกินเนื้อสัตว์มีความสัมพันธ์กับการมีนํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แม้แต่ภายหลังจากที่ปรับแคลอรีแล้ว นั่นหมายความว่า ถ้าให้คนสองคนกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่เท่ากัน
การพลิกผันโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเกิดจากการดื้ออินซูลิน ระดับนํ้าตาลที่สูงขึ้นเป็นเพียงอาการของโรค ดังนั้นแม้จะบังคับให้นํ้าตาลลดลงด้วยวิธีที่ไม่เป็นธรรมชาติใดๆ ก็
ผลจากการวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal & Medicine ได้สร้างความตกตะลึงไปทั่ววงการแพทย์ จนทำให้นักวิจัยต้องหยุดการวิจัยก่อนเวลาอันควร ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย การใช้ยาหลายตัวร่วมกัน อาจเป็นอันตรายยิ่งกว่าระดับนํ้าตาลในเลือดสูงที่กำลังพยายามรักษาอยู่ก็ได้

ดังนั้นแทนที่จะเอาชนะภาวะดื้ออินซูลินด้วยการใช้วิธีที่รุนแรงเพียงอย่างเดียว คือ จะดีกว่าไหมถ้าจะรักษาที่ตัวโรคเอง
สรุปคือ ระดับนํ้าตาลในเลือดกลับมาสู่ระดับปกติได้ภายใน 1 สัปดาห์ ที่กินอาหารเพียงแค่วันละ 600 แคลอรี เพราะไขมันถูกดึงออกจากกล้ามเนื้อ ตับ และตับอ่อน ส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้กลับมาทำงานปกติอีกครั้ง แค่เปลี่ยนคุณภาพอาหารก็เปลี่ยนโรคเบาหวานได้แล้ว
จากงานวิจัย EPIC – PANACEA สัตว์ปีกอาจเป็นเนื้อสัตว์ที่ถูกขุนให้อ้วนมากที่สุด เพราะว่าไก่ตอนนี้มีแคลอรี่จากไขมันมากกว่าโปรตีน 2 – 3 เท่า ทำให้นักวิจัยด้านโภชนาการถามว่า “ การกินเนื้อสัตว์ที่อ้วนจะทำให้ผู้บริโภคอ้วนด้วยหรือไม่ ”
พลิกผันโรคเบาหวานด้วยอาหาร
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานรู้มานานแล้วว่า คนไข้ที่ตั้งใจแน่วแน่ที่ลดความอ้วนได้ 1 ใน 5 ของนํ้าหนักตัว สามารถพลิกผันโรคเบาหวานของตนและทำให้การทำงานของระบบเผาผลาญกลับมาสู่ภาวะปกติ
แทนที่จะอดอาหารด้วยการกินให้น้อยลง เช่น การกินอาหารจากพืชร้อยละ 90 หรือมากกว่านั้น จากผักใบเขียวที่กินได้ ผักชนิดอื่นๆ และถั่ว ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช
หลักการสำคัญ
1. จำกัดการบริโภคเนื้อสัตว์ ธัญพืชขัดขาว อาหารขยะและนํ้ามัน
2. กินอาหารที่ได้จากพืชไม่ผ่านการแปรรูปเป็นหลัก
3. ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เพื่อการมีสุขภาพดี เช่น
 ออกกำลังกายพอเหมาะกับตัวเอง เช่น เดินวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
 ดื่มนํ้าสะอาดให้เพียงพอ
 นอนหลับให้เพียงพอ วันละ 8 ชั่วโมง
 ทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลาย
 การจำกัดเวลาในการรับประทานอาหารโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา (Intermittent Fasting)=IF

1. ช่วงที่สามารถรับประทานได้ตามปกติ
2. ช่วงอดอาหารไม่รับประทานอาหารใดๆ ยกเว้นนํ้าเปล่า หรือ ของเหลวที่ไม่มีแคลอรี่
การกำหนดระยะเวลาในการอดอาหาร ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความเจ็บป่วย ความสะดวก ซึ่งตรงนี้จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญและให้การดูแลในการรักษา อย่างไกล้ชิด


บทความโดย..
นพ.สมสินธู์ ฉายวิจิตร   ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก เข้าชม(618)ครั้ง